เวลา

ยินดีตอนรับเข้าสู่บล๊อก

ยินดีตอนรับเข้าสู่บล๊อก กฤตนัย เชียงแรง

Processing Unit


หน่วยประมวลผลกลาง (Processing Unit)
 องค์ประกอบสำคัญในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ก็คือส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผล (Processor)  โดยทำการประมวลผลข้อมูลตามคำสั่งที่รับซึ่งการประมวลในที่นี้จะประกอบด้วยการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ภายในคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ตัว โดยจะขอกล่าวถึงอุปกรณ์หลัก ๆ ดังต่อไปนี
 1) เมนบอร์ด (Mainboard) :  เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนศูนย์บัญชาการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ จะถูกนำเข้ามาเชื่อมต่อเข้ากับแผงวงจรเมนบอร์ดนี้เพื่อทำงานร่วมกัน
   2) ซีพียู (CPU) : ซีพียู หรือหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่หลักในการประมวลผลข้อมูลและควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบซีพียูจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาเป็นลำดับแรก ๆ ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
  3) แรม (RAM) :  แรม  หรือหน่วยความจำหลัก  ทำหน้าที่พักข้อมูลระหว่างที่ซีพียูกำลังประมวลผลข้อมูล  การเก็บข้อมูลของแรมจะเป็นการเก็บข้อมูลแบบชั่วคราว คือจะหายไปเมื่อมีการปิดใช้งานเครื่อง
 เมนบอร์ด (Mainboard)
นั้นมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อด้วยกัน อาทิ มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) หรือในบางประเทศก็เรียกว่า โมโบ (mobo) ซึ่งเป็นคำย่อจาก motherboard
เมนบอร์ด คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาทิ ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ ซีพียู (CPU) และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำถาวร มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก เมนบอร์ดได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในปัจจุบันได้มีรูปแบบที่นิยมใช้งานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็คือATX (Advance Technology Extension) โดยเราสามารถแบบช่วงการพัฒนาเมนบอร์ดได้ดังนี้
- PC/XT เป็นรุ่นบุกเบิกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM


- AT (Advance Technology) มีชื่อในยุค 386 แต่ตกรุ่นเมื่อมีรุ่น ATX


ATX เป็นรุ่นที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน


CPU คืออะไร 

กลไกการทำงานของซีพียู
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่ หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู หรือ ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) นั้นขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู

โปรแกรมที่ไว้ตรวจสอบแสดงรายะละเอียด อุปกรณ์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ CPU-Z

                       
มารู้จักรกับ CPU Intel รุ่นต่างๆ ตั้งแต่ Pentium 4 ขึ้นไป

บริษัท Intel เป็นผู้ผลิตซีพียูสำหรับเครื่องพีซีรายใหญ่ที่สุดของโลก บริษัท Intel ได้ผลิตซีพียู มาตั้งแต่คอมพิวเตอร์รุ่นแรกจนพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จากยุค 386486 จนมาใช้ชื่อ Pentium, Pentium Pro, Celeron, Pentium 2, Pentium 3 จากนั้นก็มาถึงยุคของ Pentium 4 แม้ในช่วงที่ AMD เปิดตัว Athlon 64 มาในราคาที่ถูกกว่าและดึงส่วนแบ่งตลาดไปได้มาก แต่ครั้งนี้ Intel กลับมายึดตลาดซีพียูคืนด้วย Core 2 Duo ซึ่งเป็นซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ใช้พลังงานน้อย จึงมีความร้อนน้อยกว่า Pentium D เป็นอย่างมาก ซึ่งรายละเอียดตัวอย่าง ซีพียู ของ บริษัท intel มีดังนี้

1. ซีพียูตระกูล Pentium 4

2. ซีพียูตระกูล Pentium D

3. ซีพียูตระกูล Pentium Extreme

4. ซีพียูตระกูล Pentium Dual Core

5. ซีพียูตระกูล Core 2 Duo

6. ซีพียูตระกูล Core 2 Extreme Processor

7. ซีพียูตระกูล Core i7

8. ซีพียูตระกูล Core i7 Extreme

1. ซีพียูตระกูล Pentium 4






670661660651650641640631630551541531521 [มี Hyper-Threading]524519K, 516511506 [ไม่มี Hyper-Threading] CPU Single-core มีความเร็วตั้งแต่ 2.66 - 3.80GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 1 - 2MB มี FSB ตั้งแต่ 533 – 800MHz มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep (ยกเว้น Pentium 551541531521524519K, 516506) รองรับ EM64มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 90 และ 65นาโนเมตร บน LGA775

2. ซีพียูตระกูล Pentium D


960950945940930925920915840830820805 CPU Dual-core มีความเร็วตั้งแต่ 2.8 - 3.60GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 2 - 4MB มี FSB 800MHz ไม่มี Hyper-Threading มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep (ยกเว้น PentiumD820,805) รองรับ EM64มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 90 และ 65นาโนเมตร บน LGA775

3. ซีพียูตระกูล Pentium Extreme


965955840 CPU Dual-core มีความเร็วตั้งแต่ 3.20 - 3.73GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 2 - 4MB มี FSB ตั้งแต่ 800 - 1066MHz มีเทคโนโลยี Hyper-Threading ไม่มีระบบประหยัดพลังงาน รองรับ EM64มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 90 และ 65นาโนเมตร บน LGA775

4. ซีพียูตระกูล Core 2 Duo

E6700, E6600, E6400, E6300, E7600, E7500, E7400, E7300, E7200, E8600, E8500, E8400 CPU Dual-core มีความเร็วตั้งแต่ 1.86 – 3.33GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 2 - 4MB FSB ตั้งแต่ 1333 - 1066MHz ไม่มี Hyper-Threading มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep รองรับ EM64มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 45นาโนเมตร บน LGA775

5. ซีพียูตระกูล Core 2 Quad

โปรเซสเซอร์ Intel® Core™2 Quad ซึ่งมีพื้นฐานจากการปฏิวัติทางนวัตกรรมของ Intel® Core™ microarchitecture มอบ หน่วยประมวลผลสี่แกนหลักในโปรเซสเซอร์ตัวเดียว นำมาซึ่งประสิทธิภาพและการตอบสนองที่รวดเร็วอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนสำหรับ การใช้งานแบบมัลติเธรดและมัลติทาสกิ้งในสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้านและใน สำนักงานเวอร์ชั่นล่าสุดของโปรเซสเซอร์นี้สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีการผลิต 45nm ของ Intel ที่จะนำประโยชน์ที่แตกต่างมากให้กับคุณ เทคโนโลยีนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ hafnium-infused Hi-k ซึ่ง ช่วยให้โปรเซสเซอร์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการเพิ่มความหนาแน่นของ ทรานซิสเตอร์เป็นสองเท่า เป็นการช่วยเพิ่มสมรรถนะและความเร็วเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า และช่วยเพิ่มขนาดแคชเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เทคโนโลยีการผลิต 45nm ของ Intel ช่วยให้โปรเซสเซอร์ Intel Core 2 Duo มอบประสิทธิภาพที่เหนือกว่าโดยไม่ได้ใช้พลังงานมากขึ้น โปรเซสเซอร์ Intel® quad-core นี้เป็นตัวแทนของความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องของ Intel และเป็นการช่วยผลักดันการใช้งานหน่วยประมวลผลแบบมัลติคอร์

6. ซีพียูตระกูล Core 2 Extreme

CPU Dual-core ความเร็ว 2.93GHz มี Cache L2 ขนาดใหญ่ถึง 4MB FSB 1066MHz ไม่มี Hyper-Threading มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep รองรับ EM64มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 45 นาโนเมตร บน LGA775

7. ซีพียูตระกูล Core i7

Intel Core i7 รุ่นธรรมดา มี 2 รุ่น คือ

1. Intel Core i7 920

= 2.67 GHz ,

L2 Cache 256x4KB,L3Cache 8MB Share,

Multiplier 20x

BusSpeed 133.3 MHz

QPI 2.4GHz = TDP 130 w

Socket B LGA 1366

MMX,SSE,SSE2,SSE3,SSSE3,SSE4.1,SSE4.2,EMT64T

2. Intel Core i7 940

= 2.93 GHz ,

L2 Cache 256x4KB,L3Cache 8MB Share,

Multiplier 22x

BusSpeed 133.3 MHz

QPI 2.4GHz = TDP 130 w

Socket B LGA 1366

MMX,SSE,SSE2,SSE3,SSSE3,SSE4.1,SSE4.2,EMT64T

8. ซีพียูตระกูล Core i7 Extreme

Intel Core i7 Extreme มี 1 รุ่น ดังนี้

Intel Core i7 920

= 3.20 GHz ,

L2 Cache 256x4KB,L3Cache 8MB Share,

Multiplier 24x

BusSpeed 133.3 MHz

QPI 3.2GHz

TDP 130 w

Socket B LGA 1366

MMX,SSE,SSE2,SSE3,SSSE3,SSE4.1,SSE4.2,EMT64T


 (RAM)

โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ Static RAM (SRAM) โดยมีรายระเอียดดังนี้
Static RAM (SRAM) นิยมนำไปใช้เป็นหน่วยแครช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากกินกระแสไฟมากจนทำให้เกิดความร้อนสูง
Dynamic RAM(DRAM) นิยม นำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี (Integrated Circuit) บนแผงโมดุลของหน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM,DDR SDRAM,DDR-II และ RDRAM เป็นต้น โดยออกแบบให้มีขนาดความจุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง
ชนิดของแรมหรือแรม DRAM (ในปัจจุบัน)
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็ฯแผงหน่อยความจำหลักของระบบชนิดต่างๆในปัจจุบันดังนี้

 
SDRAM (Synchronous DRAM)

ตัวชืปจะใช้บรรจุภัณฑ์ (Package) แบบ TSOP (Thin Smail Outine Package) ติดตั้งอยู่บน แผงโมดูล แบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาน 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลด์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC-66 (66 MHz), PC-100 (100 MHz), PC-133 (133 MHz) และ PC-150 (150MHz) ปัจจุบันหมดความเป็นที่นิยมไปแล้ว จะพบได้ก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆทั้งนั้น





DDR SDRAM (Double Date Rate SDRAM)


 


ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาด ความยาวของแผงโมดูลเท่ากัน คือ 5.25 นิ้ว ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขาใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลด์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง ความเร็วบัสในปัจจุบันมีใหเเลือกใช้ตั่งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) สำหรับ DRAM ชนิดนี้ปัจจุบันกำลังจะตกรุ่น
การจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา๗ x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล (Bandwidth) ที่มีหน่วยความจำเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วยเช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบสัญญาณนาฬิกา)เท่ากับอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3,200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีรุ่นอื่นๆอีก เช่น PC2100 (DDR-266), PC2700(DDR-33), PC3600 (DDR-450), PC4000(DDR-500),PC4200(DDR-533), และ PC5600 (DDR-700) เป็นต้น


DDR-II SDRAM
 
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Gril Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำก่าแบบ TSOP อีกทั่งยังสามารถออกแบบให้ตัวชิปมีขนาดเล็กแ
ะบางลงได้ ชิปดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั่งสิ้น 240 ขา ใช้แรงดันไฟเพียง1.8โวลต์ รองรับความจุได้สูงสุดถึง 4 GB ความเร็วบัสในบัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั่งแต่ 200 MHz (DDR2-400) ไปจนถึง 450 MHz (DDR2-900) สำหรับ DRAM ชนิดนี้ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนคาดว่าในอีกไม่ช่าจะเข้ามาแทนที่มาตรฐานเดิมคือ DDR SDRAM ในที่สุด
นอกจากรุ่นของ DDR-II นอกจากจำแนกออกตามความเร็วของบัสที่ใช้งาน เช่น DDR2-667 (667 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 333 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้ว ยังถูกจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ด้วย เช่น PC2-5400 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างของบัสขนาด 8 ไบต์) x 333 MHz ( ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั่งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ระรอบของสัญญาณนาฬิกา๗ เท่าอัตตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 5,400 MB/s โดยประมั่นเอง นอกจากนี้ยังมีรุ่นอื่นๆอีกเช่น PC2-4300 (DDR-533),PC2-6400(DDR2-800) และ PC2-7200 (DDR2-900) เป็นต้น


RDAM (RAMBUS DRAN)

 

ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Rambus lnc โดยนำมาใช้งานครั้งแรกร่วมกับชิปเซ็ต i850 และซีพียู Pemtium 4 ของ Intel ในยุคเริ่มต้น ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยชิปเซ็ตและเมนบอร์ดของ Intel เพียงบางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ CSP (Chip-Scale Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ RIMM (Rambus Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ และรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 2 GB ปัจจุบัน RDRAM ที่มีวางขายในท้องตลาด สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
RDRAM (16บิต) เป็น RDRAM แบบ Single Channel ที่มีความกว้างบัส 1 แชนแนลขนาด 16 บิต (2ไบต์) มีจำนวลขาทั้งสิ้น 184 ขา การจำแนกรุ่นโดย มากจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น PC-800 (800 MHz),PC-1066(1,066 MHZ) และ PC-1200 (1,200 MHz) เป็นต้น
RDRAM(32บิต) เป็น RDRAM แบบ Dual Channel ที่มีความกว้างบัส 2 แชแนลขนาด 32 บิต (4ไบต์) มีจำนวนขาทั้งสิ้น 242 ขา การจำแนกรุ่นโดยมากจะจำแนกออกตามค่าแบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ที่ได้รับ เช่น RIMM 3200(PC-800),RIMM 4200(PC-1066),RIMM 4800(PC-1200) และ RIMM 6400 (PC-1600) เป็นต้น

นอกจากนี้ในอนาคตยังอาจพัฒนาให้มีความกว้างบัสเพิ่มมากขึ้นถึง แชนแนลขนาด 64 บิต(ไบต์) ที่ทำงานด้วยความเร็วบัสสูงถึง 1,333 และ 1,600 MHz effective ออกมาด้วย โดยจะให้แบนด์วิดธ์มากถึง 10.6 และ 12.8 GB/s ตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น